FUTURE XRAY : ALL ABOUT PROTECTION
กระทรวงสาธารณสุข
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
สำนักปรมณูเพื่อสันติ

Hotline :

062-349-3034

063-270-9733

New to site?


Login

Lost password? (close)

Already have an account?


Signup

(close)
HomeBlog Video Post
Home Blog Video Post

        เอกซเรย์ธรรมดา จะให้ภาพจากการตรวจเป็นภาพ 2 มิติ คือ กว้าง และยาว ไม่สามารถบอกความลึกของภาพได้ และจะให้ภาพเป็นภาพรวมของทั้งอวัยวะ ดังนั้นจึงเป็นข้อจำกัดของเอกซเรย์ธรรมดา เมื่อเปรียบเทียบกับเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ซึ่งใช้เทคโนโลยีในการตรวจที่ซับซ้อนกว่าเอกซเรย์ธรรมดามาก โดยจะให้ภาพเป็น 3 มิติ และยังซอยภาพอวัยวะออกเป็นแผ่นบางๆได้หลายสิบแผ่น จึงช่วยให้แพทย์อ่านความผิดปกติของอวัยวะนั้นๆได้แม่นยำมากขึ้น ทั้งนี้ค่าใช้จ่ายในการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์จะสูงกว่าการเอกซเรย์ธรรมดาเป็นสิบ หรือหลายสิบเท่า และในการตรวจแต่ละครั้ง ผู้ป่วยจะได้รับปริมาณรังสีทั้งตัว (Whole body irradiation) สูงกว่าจากการตรวจด้วยเอกซเรย์ธรรมดา ดังนั้นโดยทั่วไป เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้ป่วย แพทย์จึงมักตรวจด้วยเอกซเรย์ธรรมดาก่อน ต่อเมื่อเอกซเรย์ธรรมดาไม่สามารถให้การวินิจฉัยโรคได้ แพทย์จึงจะพิจารณาเลือกใช้การตรวจด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ การเอกซเรย์มีประโยชน์และโทษอย่างไร? การเอกซเรย์สามารถตรวจภาพของเนื้อเยื่อ/อวัยวะ (เซลล์ เนื้อเยื่อ อวัยวะ) ได้เกือบทุกชนิด และในทุกเพศและทุกวัย ดังนั้นจึงเป็นประโยชน์อย่างมากต่อแพทย์ในการใช้ช่วยวินิจฉัยโรคได้ถูกต้องแม่นยำขึ้น อันนำไปสู่การรักษาที่มีประสิทธิภาพ เอกซเรย์ที่นิยมตรวจมากที่สุด คือ เอกซเรย์ปอด (ดูโรคของปอด หัวใจ ช่องปอด และกระดูกซี่โครง) และเอกซเรย์กระดูก และฟัน (ดูโรคต่างๆของกระดูก และของฟัน โดยเฉพาะ ภาวะกระดูกหัก ฟันผุ และฟันคุด) อย่างไรก็ตาม เอกซเรย์ เป็นรังสีที่มีพลังงานได้หลายระดับ และก่อให้เกิดการบาดเจ็บของเซลล์ได้ทุกชนิด การบาดเจ็บจะมากหรือน้อยขึ้นกับปริมาณและระดับพลังงานของเอกซเรย์ที่เซลล์ได้รับ รวมทั้งอายุของเซลล์ด้วย โดยเซลล์ตัวอ่อน เช่น เซลล์ของทารกในครรภ์ (อาจส่งผลให้เกิดการแท้ง หรือ ความพิการของทารกได้)...

      หัวใจ…มีอยู่ดวงเดียวเท่านั้น จึงควรให้ความสำคัญกับการดูแลรักษาหัวใจ  โรงพยาบาลขอนแก่น ตระหนักและเล็งเห็นความสำคัญของการให้บริการด้านสุขภาพหัวใจ ซึ่งเป็นโรคที่จำเป็นต้องได้รับการบริการรักษาอย่างเร่งด่วนและทันท่วงที  โรงพยาบาลจึงได้พัฒนาระบบการบริการให้มีความก้าวหน้า ทันสมัย ควบคู่ไปกับการรักษาที่มีคุณภาพและได้มาตรฐาน เพื่อรองรับผู้ป่วยที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น โดยในเบื้องต้น”ศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลขอนแก่น”ได้เปิดให้บริการห้องตรวจสวนหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ (Cardiac Catheterization Laboratory) ด้วยการใช้งบประมาณกว่า 25 ล้านบาท (ได้รับการสนับสนุนจาก สปสช.) ในการปรับปรุงพื้นที่อาคารสมเด็จพระพุฒาจารย์ และจัดซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ทันสมัย เพื่อให้บริการ ตรวจรักษาโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งเป็น หัตถการ ที่ทำในห้องปฏิบัติการตรวจสวนหัวใจ (Cath Lab)  สำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจที่สงสัย หรือมีอาการของภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด,ผู้ป่วยโรคหัวใจแต่กำเนิด และผู้ป่วยโรคหลอดเลือดอื่นๆ ที่ต้องการตรวจสวนหลอดเลือดเพื่อวินิจฉัยหรือทำการรักษา  โดยมุ่งเน้นรักษาด้วยคุณภาพ  โดยทีมแพทย์และพยาบาลผู้เชี่ยวชาญ เพื่อรองรับผู้ป่วยโรคหัวใจภายในจังหวัดขอนแก่น และจังหวัดอื่นๆ  ด้วยปณิธาน ”หัวใจทุกดวงที่ก้าวเข้ามาใช้บริการจะได้รับการดูแลอย่างดีเยี่ยมในทุก ๆ ด้าน ด้วยหัวใจบริการ” ซึ่งขณะนี้ ศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลขอนแก่น พร้อมเปิดให้บริการทุกวันในเวลาราชการ โดยตั้งแต่วันที่ 29 พฤษภาคม 2555...

        มาตรฐานการป้องกันอันตรายจากรังสีและมาตรการความปลอดภัยทางรังสี การป้องกันอันตรายจากรังสี มาตรการความปลอดภัย 1. ห้องที่ติดตั้งเ ครื่องกำเนิดรังสี ต้องมีระดับรังสี ณ ตำแหน่งต่างๆ เป็นไปตาม มาตรฐานความปลอดภัยทางรังสี 2. เครื่องกำเนิดรังสี ต้องมีระบบ เปิด –ปิด เครื่องด้วยกุญแจ ซึ่งถูกเก็บรักษาไว้ อย่างปลอดภัย หรือมีระบบอื่นที่เทียบเท่า เพื่อป้องกันมิให้ผู้ที่ไม่มีหน้าที่ สามารถใช้งานเครื่องกำเนิดรังสีได้ 3. ต้องมีสวิตซ์ เปิด- ปิด เพื่อจ่ายกระแสไฟฟ้ากำลังเข้าเครื่อง 4. ต้องมีการตรวจติดตามความปลอดภัย ทางรังสีตามมาตรฐานที่กำหนด ทุกปี โดยการตรวจสอบเครื่องจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และได้รับอนุญาตจาก สำนักงานปรมาณูในการให้ใช้เครื่องกำเนิดรังสี 5. ต้องมีฉลากแสดงรุ่น และหมายเลขเครื่องติดไว้ในตำแหน่งที่เห็นชัดเจนบน เครื่อง การป้องกันอันตรายจากรังสีเอ็กซเรย์สำหรับผู้ปฏิบัติงาน ยึดหลักสามประการ ดังนี้ – ระยะทาง ต้องอยู่ให้ห่างจากแหล่งกำเนิดรังสีให้มากที่สุด – เวลา ทำงานกับรังสีด้วยเวลาน้อยที่สุด – เครื่องกำบัง ต้องมีเครื่องกำบังรังสีเพื่อลดการได้รับรังสีโดยตรง...

                 คุณสมบัติ (สมรรถนะ)             ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตร ความปลอดภัยในการปฏิบัติงานขั้นพื้นฐานสำหรับพนักงานใหม่  ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตร การป้องกันอันตรายจากรังสี ขั้นพื้นฐาน            3 การจัดการบุคลากรทางรังสี อ้างอิงขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบ ของบุคลากรทางรังสีตามเจตนารมณ์ ของกระทรวงวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ผู้รับผิดชอบดำเนินการทางเทคนิค เกี่ยวกับรังสี (เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสี, RSO)   คุณสมบัติ (สมรรถนะ)  คุณสมบัติของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสี อ้างอิงตาม D   หน้าที่ความรับผิดชอบ           การบริหารจัดการด้านความปลอดภัยทางรังสี  การดําเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย  การขออนุญาตทางรังสี  การวางกฎ ระเบียบ ในการใช้รังสี  การเก็บบันทึกและรายงาน  การให้ความรู้ด้านการป้องกันอันตรายจากรังสี  การตรวจพิสูจน์ (inspection)  การตรวจสอบความปลอดภัยทางรังสี  (audit)  การสอบสวนอุบัติการณ์ทางรังสี (investigation)  การควบคุมการได้รับปริมาณรังสีของผู้ปฏิบัติงาน  การบริหารจัดการเครื่องมือและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันอันตรายจากรังสี  การบริหารจัดการทะเบียนวัสดุกัมมันตรังสีและเครื่องกําเนิดรังสี  การตรวจวัดรังสีประจําตัวบุคคล...

              “ลูกพี่ครับ…. HSE ของลูกค้าแจ้งผ่านมาทาง Project Site Manager  ต้องการให้เราจัดหา เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสี เพื่อกำกับดูแลความปลอดภัยทีมปฏิบัติงานทางรังสี ตลอดระยะเวลาที่ปฏิบัติงานครับ (คนเฝ้าเป็ด)…..ลูกค้าอ้างอิงตาม กฎ กระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวด ล้อมในการทำงานเกี่ยวกับรังสีชนิดก่อไอออน พ.ศ. 2547 คร้าบบบบ!!!” ผมถอนหายใจ สองเฮือกติด….. ไม่ใช่เพราะจิตสำนึกในการให้บริการต่ำ หรือมีทัศนคติเลวร้าย มองเจตนารมณ์ของกฎหมายเป็นเรื่องวุ่นวายยุ่งยากในทางปฏิบัติ แต่ผมกำลังรู้สึกทอดถอนใจให้กับความซ้ำซ้อน และไม่ชัดเจนของกฎ ที่ใช้ในการกำกับดูแลความปลอดภัย ของงานรังสีอุตสาหกรรม   ผมรู้สึกเห็นใจ และเข้าใจในความสับสน และวิตกกังวลของลูกค้า…..”กฎที่ไม่ชัดเจน นำมาซึ่งความสับสนล้มเหลวในการปฏิบัติเสมอ”  โดยเฉพาะกฎที่ใช้ในการควบคุม/กำกับดูแลงานด้านความปลอดภัยฯ ที่มีผู้มีอำนาจรัฐถึง 2 ภาคหน่วย เข้ามาจัดการดูแล……โดยเฉพาะพื้นที่ทับซ้อนในเรื่องของบุคลากรทางด้านรังสี ภายในสถานประกอบการ  บุคลากรทางรังสี ในปัจจุบัน 1 ผู้รับผิดชอบ ดำเนินการทางเทคนิค  ในเรื่องรังสี    (กระทรวงแรงงานฯส่งเข้าประกวด) 2 ผู้รับผิดชอบ ดำเนินการทางเทคนิค  เกี่ยวกับรังสี   (กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯส่งเข้าประกวด) 2.1 เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย ทางรังสี ระดับต้น/กลาง/สูง...

              บทบาทหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสี (RSO) มีหลายอย่าง ทั้งนี้้เพื่อให้เกิดความปลอดภัยจากการใช้รังสีในการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรค วันนี้ท่านที่ได้รับใบอนุญาต RSOได้ดำเนินการในส่วนใดไปแล้วบ้างคะ? สวัสดีค่ะ  หลายวันก่อนได้ยินคำถามจากท่าน อาจารย์ต้อม (รศ.เพชรากร หาญพานิชย์) เกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของ “เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสี” หรือที่เรียกย่อๆว่า RSO (Radiation Safety Officer) ก็เลยมานั่งทบทวนตัวเองในงานที่รับผิดชอบในฐานะ RSO ว่าเราได้ทำอะไรไปแล้วบ้าง จึงขอนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้  และโรงพยาบาลอื่นๆทำอย่างไรบ้างคะ  กิจกรรมที่ดำเนินการแล้ว ได้แก่… จัดให้มีระบบการป้องกันอันตรายจากรังสี เช่น จัดให้มีอุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากรังสีให้แก่ญาติ/เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องพร้อมคำอธิบายวิธีใช้งาน ให้ความรู้/คำแนะนำการป้องกันอันตรายจากรังสี การเตรียมตัวก่อนและขณะตรวจทางรังสี การจัดให้มีมุมเรียนรู้เรื่องการป้องกันอันตรายจากรังสี เช่น บอร์ด อัลบัมความรู้ เช่น บอกให้ทราบถึงปริมาณรังสีที่ได้รับจากการตรวจว่าอยู่ในระดับที่ปลอดภัย ตามมาตรฐานของ ICRP ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย เช่น เครื่องเอกซเรย์ต้องได้รับการตรวจสอบคุณภาพมาตรฐาน และขออนุญาตมีไว้ในครอบครอง ผลิตและใช้พลังงานจากเครื่องกำเนิดรังสี จากสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ จัดระบบบันทึกประวัติการซ่อมบำรุงเครื่องเอกซเรย์ ซึ่งเป็นประโยชน์ในการวางแผนจัดหาเครื่องมือทดแทน หากประวัติการซ่อมมีค่าใช้จ่ายมาก หรือซ่อมบ่อย ทำให้การบริการไม่มีประสิทธิภาพ สามารถนำข้อมูลประกอบการนำเสนอผู้บริหารต่อไป เรียนรู้ และพัฒนาปรับปรุงไปเรื่อย ๆ ค่ะ...

                เมื่อท่านได้ตัดสินใจในการรักษาแล้ว ทำจิตใจให้สบาย และต้องเรียนรู้ จนเข้าใจถึงแนวทางการปฏิบัติตัวของท่าน โดยสอบถามและขอคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญของท่าน การเตรียมตัวของท่านในการปฏิบัติตัวในการรักษา ในการเตรียมตัว แพทย์จะให้คำแนะนำที่จำเป็น มีประโยชน์ และเฉพาะเจาะจง แพทย์จะถามท่านเกี่ยวกับ ยาที่ท่านรับประทานเป็นประจำว่ามีอะไรบ้าง ข้อมูลยาที่ท่านแพ้ หรือรับประทานไม่ได้ ประวัติเกี่ยวกับเลือดออก เลือดหยุดเมื่อถูกของมีคมบาด สารหรือโลหะที่ท่านแพ้ กำหนดการ การผ่าตัด หรือทำฟันของท่าน (กรณีผู้ป่วยที่เป็นสตรีแพทย์อาจต้องการทราบสภาวะของท่านว่า กำลังตั้งครรภ์ ให้นมบุตร หรือมีแผนในการตั้งครรภ์) การเข้ารับการรักษา การรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจของท่านจะกระทำในห้องพิเศษ ซึ่งเรียกสั้นๆ ว่าห้อง “แคทแล็บ” ซึ่งคือ Cardiac Catheterization Lab ย่อว่า “Cath Lab” สำหรับการทำหัตถการ (การรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจ) แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะพิจารณาเลือกเส้นเลือดบริเวณขาหนีบ (Groin) หรือ ข้อมือ (Wrist) หรือแขน (Arm) เพื่อเป็นเส้นเลือดนำทางไปสู่เส้นเลือดแดงที่หล่อเลี้ยงหัวใจ (Coronary Arteries) ที่มีปัญหาอยู่...

                  ถ้าไม่ใช่ตำแหน่งทางวิทยาศาสตร์ที่กำหนดเอาไว้ ว่าหัวใจนั้นอยู่ที่หน้าอกข้างซ้าย เราคงต้องสับสนในชีวิตกันเป็นแน่ ว่าแท้จริงแล้วใจของเรานั้นอยู่ตรงไหน เพราะมันช่างอ่อนไหว เปลี่ยนแปลงไปได้ตลอดเวลา อกหัก รักคุด เศร้าใจ ดีใจ อะไรต่อมิอะไรอีกสารพัด ไม่ว่าอะไรก็เกี่ยวกับใจทั้งนั้น นี่แค่เรื่องของภาวะจิตใจนะคะยังสับสนได้ขนาดนี้ แล้วหัวใจที่อยู่ในอกข้างซ้ายของเราล่ะ หากเกิดสิ่งผิดปกติขึ้นเราจะดูแลรักษามันได้อย่างไร ไอเกิล ได้รับเกียรติจาก นพ.สราวุธ ลิ้มตั้งตุระกูล อายุรแพทย์โรคหัวใจ เฉพาะทางด้านการทำบอลลูนขยายหลอดเลือด ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการขยายหลอดเลือดโดยใช้สายสวน โรงพยาบาลสมิติเวช ศรีราชา (Director of Catheterization Laboratory Coronary  and Endovascular Intervention) มาให้ความรู้เกี่ยวกับ นวัตกรรมใหม่ในการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ คุณหมอเล่าให้ฟังว่า ก่อนหน้านี้ถ้าแพทย์แจ้งผู้ป่วยว่าเป็นโรคหัวใจ หรือหลอดเลือดหัวใจตีบ ( Coronary artery disease) ผู้ป่วยมักมีความกังวลเนื่องจากการรักษาอาจต้องถึงกับผ่าตัดบายพาสหลอดเลือดหัวใจ (coronary bypass graft surgery) แต่ประมาณ 15 ปีที่ผ่านมา ได้มีการรักษาภาวะนี้ด้วยการทำบอลลูนขยายหลอดเลือดหัวใจ (Percutaneous coronary...

                    การตรวจ CT scan คืออะไร? การตรวจ CT scan เป็นการตรวจหาความผิดปกติอวัยวะต่างๆ ในร่างกายด้วยลำแสงเอกซ์ โดยฉายลำแสงเอกซ์ผ่านอวัยวะที่ต้องการตรวจในแนวตัดขวาง และให้คอมพิวเตอร์สร้างภาพ ภาพที่ได้จึงเป็นภาพตัดขวางส่วนที่ต้องการตรวจอย่างละเอียด โดยมีข้อบ่งชี้ของการตรวจดังนี้ ตรวจหาเนื้องอกในอวัยวะต่างๆรวมทั้งตำแหน่งและขนาดของเนื้องอก ตรวจหาการแพร่กระจายของเนื้องอกไปยังต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ใกล้เคียง ตรวจดูการคั่งของเลือดในสมอง ช่องท้อง และอุ้งเชิงกราน ตรวจหาความผิดปกติของหลอดเลือด เช่น เส้นเลือดโป่งพอง เส้นเลือดอุดตัน เป็นต้น ตรวจหาความผิดปกติของกระดูก และข้อต่อต่างๆ เช่น การหัก การหลุด และการอักเสบ เป็นต้น ปัจจุบันการตรวจ CT scan แบ่งเป็น 4 ระบบคือ ระบบสมองได้แก่ การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ของสมอง ต่อมใต้สมอง ตา ต่อมน้ำลาย และคอ เป็นต้น ในการตรวจนี้ จะต้องฉีดสารทึบรังสีเข้าทางหลอดเลือดดำ เพื่อช่วยให้เห็นพยาธิสภาพของโรคชัดเจนขึ้น ระบบช่องท้องและทรวงอกได้แก่ การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ภายในช่องท้องและอุ้งเชิงกราน การตรวจระบบนี้...

                      การรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ (Coronary Artery Disease) โดยวิธีการสวนหลอดเลือดหัวใจผ่านทางข้อมือและขาหนีบ ซึ่งโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เป็นโรคที่พบได้บ่อย โดยอาการที่พบมาก คือมีเจ็บแน่นหน้าอก เหนื่อยง่าย เวลาที่ออกแรง การสวนหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ สามารถตรวจวินิจฉัยได้ด้วยการสวนหลอดเลือดหัวใจ (Cardiac Catheterization with Coronary Angiography) คือการฉีดสารทึบรังสีเข้าไปในเส้นเลือดหัวใจโดยตรง เพื่อถ่ายภาพเส้นเลือดหัวใจให้เห็นบริเวณที่มีการตีบตันของเส้นเลือด โดยจะฉีดยาชาที่ขาหนีบ ข้อมือซ้ายหรือขวาของคนไข้ หลังจากนั้นแพทย์จะเจาะรูเล็กๆ ที่ผิวหนัง แล้วสอดสายสวนขนาดประมาณ 2.5 มม. เข้าในเส้นเลือดแดงผ่านเข้าไปที่เส้นเลือดแดงใหญ่เออออร์ต้า และฉีดสารทึบรังสีเอ็กซเรย์เข้าทางสายสวนไปที่หลอดเลือดหัวใจ เพื่อตรวจสอบว่ามีการตีบแคบ หรือตีบตันของหลอดเลือดหรือไม่ พร้อมพิจารณาแนวทางการรักษา วิธีนี้สามารถมองเห็นจำนวนเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจอุดตัน สภาพหลอดเลือด ความเหมาะสมในการรักษาด้วยการขยายหลอดเลือดหัวใจ การสวนหลอดเลือดหัวใจ ทำได้ 2 จุดคือ บริเวณขาหนีบและบริเวณข้อมือ การสวนหลอดเลือดหัวใจบริเวณขาหนีบ (Femoral artery) ใช้ยาชาเฉพาะที่โดยไม่ใช้ยาสลบ ไม่ต้องผ่าตัด ใช้เวลาในการตรวจประมาณ 30-60 นาที หลังจากที่ทำเสร็จดึงสายสวนออก...