FUTURE XRAY : ALL ABOUT PROTECTION
กระทรวงสาธารณสุข
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
สำนักปรมณูเพื่อสันติ

Hotline :

062-349-3034

063-270-9733

New to site?


Login

Lost password? (close)

Already have an account?


Signup

(close)
HomeUncategorizedการรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
Home การรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
28
Jan
การรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

    การรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ (Coronary Artery Disease) โดยวิธีการสวนหลอดเลือดหัวใจผ่านทางข้อมือและขาหนีบ ซึ่งโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เป็นโรคที่พบได้บ่อย
    โดยอาการที่พบมาก คือมีเจ็บแน่นหน้าอก เหนื่อยง่าย เวลาที่ออกแรง

    การสวนหลอดเลือดหัวใจ
    โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ สามารถตรวจวินิจฉัยได้ด้วยการสวนหลอดเลือดหัวใจ (Cardiac Catheterization with Coronary Angiography) คือการฉีดสารทึบรังสีเข้าไปในเส้นเลือดหัวใจโดยตรง เพื่อถ่ายภาพเส้นเลือดหัวใจให้เห็นบริเวณที่มีการตีบตันของเส้นเลือด โดยจะฉีดยาชาที่ขาหนีบ ข้อมือซ้ายหรือขวาของคนไข้ หลังจากนั้นแพทย์จะเจาะรูเล็กๆ ที่ผิวหนัง แล้วสอดสายสวนขนาดประมาณ 2.5 มม. เข้าในเส้นเลือดแดงผ่านเข้าไปที่เส้นเลือดแดงใหญ่เออออร์ต้า และฉีดสารทึบรังสีเอ็กซเรย์เข้าทางสายสวนไปที่หลอดเลือดหัวใจ เพื่อตรวจสอบว่ามีการตีบแคบ หรือตีบตันของหลอดเลือดหรือไม่ พร้อมพิจารณาแนวทางการรักษา วิธีนี้สามารถมองเห็นจำนวนเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจอุดตัน สภาพหลอดเลือด ความเหมาะสมในการรักษาด้วยการขยายหลอดเลือดหัวใจ

    การสวนหลอดเลือดหัวใจ ทำได้ 2 จุดคือ บริเวณขาหนีบและบริเวณข้อมือ
    การสวนหลอดเลือดหัวใจบริเวณขาหนีบ (Femoral artery) ใช้ยาชาเฉพาะที่โดยไม่ใช้ยาสลบ ไม่ต้องผ่าตัด ใช้เวลาในการตรวจประมาณ 30-60 นาที หลังจากที่ทำเสร็จดึงสายสวนออก จะกดบริเวณขาหนีบประมาณ 15 นาที โดยไม่ต้องเย็บแผล ผู้ป่วยต้องนอนราบ และงอขาหนีบไม่ได้เป็นเวลา 6-10 ชั่วโมง โดยไม่สามารถลุกนั่งหรือเดินได้ในทันที สำหรับการสวนหลอดเลือดหัวใจผ่านบริเวณข้อมือ (Radial artery) สามารถทำการสวนหลอดเลือดหัวใจผ่านทางหลอดเลือดแดงที่ข้อมือได้โดยใช้ระยะเวลาพักฟื้น 4-8 ชม.

    หลังทำหัตถการสามารถลุกนั่ง หรือยืนได้ทันที มีเพียงสายรัดข้อมือ (TR band) ใส่ไว้เพียงไม่นาน

    ปัจจุบันศูนย์หัวใจ เครือโรงพยาบาลเปาโล เป็นโรงพยาบาลเอกชนแห่งเดียวของประเทศไทย ที่มีผลงานดีเด่นด้านการทำหัตถการขยายหลอดเลือดหัวใจ (PCI) ได้รับรางวัลอันดับ 3 จากสถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ในปี พศ.2556

    ข้อดีของการรักษา

    ในคนไข้ที่อ้วนมาก ผู้ป่วยที่ม่สะดวกในการนอนราบนานๆ เช่นผู้ป่วยที่สูงอายุ หรือปวดหลังและผู้ป่วยที่มีภาวะหลอดเลือดแดงบริเวณขามีปัญหาตีบ ตันหรือคด การสวนหลอดเลือดหัวใจบริเวณข้อมือเป็นทางเลือกที่เหมาะสม แต่มีข้อจำกัดสำหรับกรณีที่ต้องสงวนรักษาหลอดเลือดแดงที่ข้อมือไว้เพื่อใช้รักษาหัตถการอื่น ไม่สามารถทำได้ เช่น การฟอกไต เป็นต้น การพัฒนาด้านวิทยาการทางการแพทย์ด้านโรคหัวใจ ทำให้การดูแลรักษาโรคหัวใจไม่ใช่สิ่งน่ากลัวอีกต่อไป ดังนั้นเมื่อพบอาการผิดปกติ ควรรีบมาพบแพทย์  เพื่อทำการตรวจรักษาได้อย่างทันท่วงที

     


      Related Posts
      Leave A Comment

      Leave A Comment